
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านย่อมมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งคุณแม่จำเป็นต้องดูแลป้องกันและสังเกตอาการตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง SLE เป็นต้น
ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันจำนวนตัวเลขกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์ รวมถึงทารกแรกเกิด มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะส่งต่อเชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้ 2-5% อาจมีโอกาสทำให้คลอดก่อนกำหนด และมักไม่แสดงอาการในคุณแม่ตั้งครรภ์บางท่าน
วันนี้เราจะพามาแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กัน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ
อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเชื้อโควิด
- มีไข้
- ไอแห้งๆ
- อ่อนเพลีย
- หายใจติดขัด
- ท้องเสีย
- เจ็บคอ มีน้ำมูก
ซึ่งอาการอาจแตกต่างกันออกไป
เมื่อคุณแม่สังเกตอาการตนเองแล้ว หากไม่มั่นใจ สามารถตรวจ ATK ด้วยตนเองหรือให้คนใกล้ชิดตรวจให้ได้ช่วยยืนยันอีกที
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ ตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้ว ขึ้น “สองขีด” อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป! แต่ควรติดต่อประสาน ศูนย์ให้ข้อมูลฯ และเข้ารับการตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันที่โรงพยาบาลใกล้บ้านอีกครั้ง
ในระหว่างนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ให้แยกตัวจากคนในครอบครัวก่อนสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ให้นึกเสมอว่าเรายังสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ในครอบครัวได้ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ
หลังจากได้รับผล RT-PCR เป็นบวก (ซึ่งเป็นผลจากห้อง Lab) คือ เป็นโควิดจริงๆ ทางโรงพยาบาลจะแจ้งผลและให้ทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 อาจได้รับการรักษา 2 แนวทางซึ่งต้องได้รับการประเมินอาการก่อน
- Home isolation คือ สังเกตอาการอยู่บ้าน โดยทีมแพทย์จะส่งเครื่องมือต่างๆเช่น เครื่องวัดระดับออกซิเจนและยาต่างๆ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอไปให้ และ จะมีการโทรไปสอบถามอาการ
- Admit เข้าโรงพยาบาล หากคุณแม่มีโรคประจำตัว อายุครรภ์มากแล้ว หรือ มีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว ไข้สูง หรือ สังเกตอาการอยู่บ้าน 2-3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ซึ่งจะต้องมีการเอ็กซเรย์ปอดและพิจารณาให้ยาต้านไวรัส
สำหรับ ฟ้าทะลายโจร คนท้องทานได้ไหม ?
ในความเห็นทางการแพทย์ส่วนใหญ่ ยังไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรแต่หาก คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับเชื้อ-โควิด 19 จะมีแนวทางการรักษา คือ
– การให้ยาต้านไวรัสในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง หรือ ให้ยาปฏิชีวนะหากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือในบางท่านที่มีอาการรุนแรง จะใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งทุกท่านต้องอยู่ภายใต้การประเมินอาการและการดูแลของแพทยื
เนื่อจากข้อจำกัดในการรักษาคุณแม่ตั้งครรภ์ป่วย COVID-19 คือ การใช้ยาเพราะบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงต่อคุณแทม่และทารกในครรภ์
ฉีดวัคซีนโควิดยังจำเป็นไหม?
ในทางการแพทย์ วัคซีนสำหรับคุณแม่ยังจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องรับวัคซีนให้ครบโดสเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทั้งตัวคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ถ้าคุณแม่หลังคลอดติดโควิด!!
ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ำนม ดังนั้นคุณแม่หลังคลอดที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร หากได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีอาการไม่รุนแรงที่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติก็สามารถใกล้ชิด และให้นมทารกได้ แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
โดยสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือให้บ่อยขึ้นแต่ในคุณแม่ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ที่ได้รับยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) และดารุนาเวียร์ (Darunavir) ไม่ควรให้นมเพราะฤทธิ์ของยาอาจส่งผลผ่านทางน้ำนมได้
ทั้งนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 จะต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุดพบแพทย์ตามนัดหมาย ฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่ออายุครรภ์ครบ 3 เดือนหรือ 12 สัปดาห์ตามคำแนะนำของแพทย์สวมหน้ากากอนามัย ลดการเดินทางในที่สาธารณะหรือชุมชนที่แออัด ล้างมือให้บ่อย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19
อย่าวิตกกังวลจนเกินไป รับฟังข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และหากคุมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ต้องเข้าระบบการรักษาโดยเร็วที่สุดและปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคเป็นวิธีการที่จะช่วยป้องกันตัวคุณแม่และคนในครอบครัว
ดูแลตนเอง เพื่อคนที่คุณรัก ให้ทุนคนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
คลินัท มาเทอร่า
Good Health and Wel-Being
”เติมเต็มสุขภาพที่ดีเพื่อทุกคนในครอบครัว”